การควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว
ปัญหาและสถานการณ์ด้านการบริโภคยาสูบของตำบลหาดนางแก้ว
ตำบลหาดนางแก้ว มีประชากรทั้งหมดในเขตพื้นที่จำนวน 4,357 คน มีประชากรที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน 1,080 ราย (ที่มา :รพ.สต.หาดนางแก้ว ปี 2564) คิดเป็นร้อยละ 27.79 ของประชากรทั้งหมด เพศชายมีอัตราการบริโภคยาสูบในอัตราที่สูงมากกว่าเพศหญิง และแนวโน้มของนักสูบหน้าใหม่คือกลุ่มเยาวชนซึ่งมีประเด็นของปัจจัยแวดล้อมต่อการสูบบุหรี่ของเยาวชน พบว่า บุคคลในครอบครัว และเพื่อนสนิทต่างมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน โดยเยาวชนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบยังขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากการขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และการวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเป็นอย่างมากการบริโภคยาสูบในพื้นที่มีความง่ายดายเป็นอย่างมาก ผู้สูบมักจะไม่ได้กังวลกับการปรับราคายาสูบที่ปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับบุหรี่พื้นบ้าน ที่มีขายกันกลาดเกลื่อนทั้งการแบ่งขายและเป็นซองในพื้นที่ที่มีราคาถูกกว่า ๓ เท่าเมื่อเปรียบเทียบ ทำให้ประเด็นเรื่องราคาที่จะมาควบคุมกำกับคนในพื้นที่จึงใช้ไม่ได้ผล
การดำเนินงานเชิงรุก (ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม)
1. การติดตั้งป้ายแบนเนอร์/ป้ายไวนิลโทษและพิษภัยของบุหรี่ในบริเวณพื้นที่ห้ามสูบในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนง.อบต.หาดนางแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลหาดนางแก้ว และโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ
2. การจัดโซนพื้นที่สำหรับการสูบบุหรี่ในพื้นที่ สนง.อบต.หาดนางแก้ว
3. การห้ามไม่ให้บุคลากร,ผู้ติดต่อราชการหรือผู้ปกครองในการสูบบุหรี่ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หาดนางแก้ว
4. ดำเนินกิจกรรม “บ้านไร้ควัน” ในทุกหมู่บ้าน
การดำเนินงานเชิงรุก (ด้านการจัดการกลไกและระบบ)
1. การประชุมกลุ่มผู้สูบบุหรี่ของ อบต.หาดนางแก้ว เพื่อจัดทำข้อตกลงและกำหนดมาตรการในการปรับโทษ หากมีการฝ่าฝืนข้อตกลง
การดำเนินงานเชิงรับ
1. การจัดตั้งคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ใน สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว
|